วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ ( Modern Management )

แนวคิดการจัดการยุคการบริหารสมัยใหม่ ( Modern Management )
              แนวคิดในยุคนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ 1950 – ปัจจุบัน ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ความสลับซับซ้อนในการบริหารการจัดการก็มากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการสมัยใหม่ จึงต้องใช้หลักทาง

              คณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชิงระบบมาช่วย แต่อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างเช่น คนเป็นระบบ เพราะในร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วย อวัยวะ ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างอัตโนมัติ ระบบจึงถือเป็น Grand Theory เป็นทฤษฎีขนาดใหญ่ เพราะมีระบบย่อยหรือสิ่งต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การไม่ว่าภายในหรือภายนอก ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้นการบริหารการจัดการจึงต้องปรับตัวให้มีความสมดุลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าว จึงจะทาให้องค์การเติบโต อยู่รอด และสัมฤทธิผลตามเป้าหมาย
ทฤษฎีภาวะผู้นำ
การศึกษาภาวะผู้นำอย่างมีระบบได้ดำเนินการต่อเนื่องมาร่วมร้อยปี เกิดมุมมองและความเชื่อต่าง ๆ ที่พัฒนามาเป็นทฤษฎีภาวะผู้นำ จำนวนมากมาย ในที่นี้จะแบ่งเป็นกลุ่มทฤษฎีและยกมาเป็นตัวอย่างเพียงบางทฤษฎี เริ่มด้วยทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ กลุ่มทฤษฎีเชิงพฤติกรรม ตัวอย่างบางทฤษฎีเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีผู้นำเชิงวีรบุรุษ หรือภาวะผู้นำใหม่โดยเสน่หาบางทฤษฎี และประเด็นที่เป็นแนวโน้ม ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำในอนาคต
ความหมายของทฤษฎีภาวะผู้นำ
มีคำสำคัญอยู่ 2 คำที่จำเป็นต้องเข้าใจในเริ่มแรก ก็คือคำว่า “leadership” ซึ่งมักเรียกว่า “ภาวะผู้นำ” หรือ “การเป็นผู้นำ” กับอีกคำหนึ่งคือ “Management” ซึ่งเรียกว่า “การบริหาร” หรือ “การบริหารจัดการ” ทั้งสองคำ มีความหมายแตกต่างกัน
ทฤษฏีภาวะผู้นำ
ทฤษฏีภาวะผู้นำ ที่สำคัญ มี 3 ทฤษฏี คือ
1.) ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำหรือทฤษฎีอุปนิสัย (Trait Theory)
หลัก บุคคลเป็นผู้นำเพราะ มีบุคลิกลักษณะ ความสามารถที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำ (รูปร่างหน้าตา สติปัญญา วิสัยทัศน์มีความสามารถเหนือคนอื่น ความประพฤติดี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี )
โดยคุณลักษณะที่เด่นชัด คือ มีความรู้ความสามารถในการงาน   เข้าร่วมกิจกรรมด้วยใจรัก  ได้รับการยอมรับจากสมาชิก สมาชิกเต็มใจทำงานร่วม
2. ทฤษฎี สถานการณ์ (Situation Theory)
หลักการ ผู้นำเกิดจากสถานการณ์บางอย่างผลักดันให้บุคคลต้องแสดงบทบาทผู้นำ หรือต้องพัฒนาลักษณะผู้นำขึ้นมา (ฮิตเลอร์ มุสโสลินี หรือ เหมาเจ๋อตุง) ทฤษฏีนี้ยอมรับความสัมพันธ์ของผู้นำและกลุ่ม ผู้นำต้องครองใจปวงชนผู้แวดล้อม
3. ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Interaction Theory)
หลักการ ความเป็นผู้นำเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำ+สถานการณ์
(วิเคราะห์จากคุณสมบัติผู้นำ และ สถานการณ์) เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ความเป็นผู้นำก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้นำจึงมีได้หลายคน ผลัดเปลี่ยนกันไป
ทฤษฎีอื่นๆ ในเรื่อง ภาวะผู้นำ โดย Terry สรุป ไว้ 4 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีสนับสนุน (supporting Theory) เป็นทฤษฎีการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยผู้นำเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงาน มีโอกาสร่วมวางแผนและตัดสินใจในพันธกิจขององค์การ (ผู้นำต้องยอมรับในความรู้ความสามารถของผู้ร่วมงาน)
2. ทฤษฎีทางสังคมวิทยา (Sociological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องแสดงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานโดยมุ่งจัดหา วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3. ทฤษฎีทางจิตวิทยา ( Psychological Theory) มีความเชื่อว่าผู้นำต้องพัฒนาระบบสร้างแรงจูงใจ มีจิตวิทยาสูง ใช้เทคนิคกระตุ้นให้บุคคลปฏิบัติงานด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบต่อองค์การ
4. ทฤษฎียึดถืออำนาจ (Autocratic Theory) มีความเชื่อในการใช้อำนาจ ของตนเองในการบริหาร สั่งการ บีบบังคับให้ปฏิบัติงาน โดยไม่ต้องการเหตุผลในการอธิบายความ
                                                           W. Chan Kim
ยุคทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Modern Management Approaches)
-Deming cycle
เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพในวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
-
หลักการจัดการ 14 ข้อ
-
ทฤษฎีความแปรปรวน 
-
โรคและบาปที่ร้ายแรง 
-
บทบาทของผู้บริหาร 
ผลงาน
              6ปีต่อมา โด่งดังสุดๆ กับ The practice of management จากหนังสือเรื่อง Concept of the corporationซึ่งเป็นหนังสือการจัดการองค์กรสมัยใหม่ที่นำมาประยุกต์ใช้จนถึงปัจจุบันหนังสือของเขาได้สอดแทรกบทเรียนที่เกี่ยวกับ
เรื่องของการทำอย่างไรองค์กรถึงจะสามารถสร้างคนที่ดีที่สุดขึ้นมาได้และคนงานจะสามารถตระหนักถึงสภาพชุมชนได้อย่างไร
Concept of the corporation
The end of economic man, 
the origin of totalitarianism
Michael Eugene Porter
-
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิศวกรรมอากาศยานและเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ต่อมาได้เปลี่ยนสายการเรียนในด้านการบริหาร โดยศึกษา MBA และจบปริญญาเอกในสาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ จาก Harvard University 
-
แนวคิดของ Porter นั้น ได้เป็นหลักการพื้นฐานในตำราทางด้านการจัดการและกลยุทธ์ทุกเล่มในปัจจุบัน
-
ล่าสุดเขาได้สนใจและศึกษาในอุตสาหกรรมด้านสาธารณะสุขของสหรัฐอเมริกาโดยได้เข้าร่วมเขียนหนังสือกับอลิธซาเบธ ทีสเบิร์ก ในด้านการพัฒนากลยุทธ์รวมถึงเขียนกรอบงานที่จะใช้ปรับเปลี่ยนระบบประกันสุขภาพของสหรัฐอเมริกา -ผลงานล่าสุดในปี 2014 ของ porter คือบทความเรื่อง How Smart , Connected Products are Transforming Competition

ผลงาน
How Smart , Connected Products are Transforming Competition
  Clayton Christensen 
-
เป็นศาสตราจารย์ประจำที่ Harvard Business school 
-
ได้อันดับ 1 ของการจัดอันดับ ด้านการบริหารของโลก ปี 2011,2013
-
ปัจจุบันได้รับการยกย่องให้เป็นนักคิดทางด้านการจัดการอันดับ 1 ของโลก
-
ผลงานที่โด่งดัง คือ เขียนหนังสือชื่อ the Innovation Dilemma ซึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแนวคิดในเรื่อง นวัตกรรมเชิงประทุ ก็เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น
-
และchristensenเป็นผู้ให้กำเนิดคำว่า นวัตกรรมเชิงประทุ>>ซึ่ง นวัตกรรมนี้จะไม่มีความซับซ้อน
และมีราคาถูกกว่าแต่เชื่อถือได้และใช้ง่ายกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดหลักและจะค่อยๆเริ่มเจาะเข้าไปในตลาดเฉพาะกลุ่มnicne maket หรือตลาดรองเมื่อระยะเวลาผ่านไปนวัตกรรมนี้จะค่อยๆเข้าไป
และตอบความสนองต้องการของลูกค้าและเข้าไปแทนที่ของผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ในตลาดหลัก

นอกจากนี้ยังผลงานที่โด่งดังอีกมากมายและผลงานล่าสุดในปี2012-2013 ได้เขียนบทความและหนังสือ เรื่อง how will you measure your life?และ the power of Everyday Missionaries

The Innovation Dilemma
How will you measure your life?
-
เป็นนักทฤษฎีด้านการบริหารชาวเกาหลี
-
จบการศึกษา University of Michigan
-
โด่งดังเป็นที่รู้จักจากผลงาน กลยุทธ์บลูโอเชี่ยน
                 เป็นหลักการที่พยายามหักล้างแนวคิดทางด้านกลยุทธ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน 
โดยเสนอว่าแทนที่จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะคู่แข่ง ถ้าองค์กรต้องการที่จะเติบโตจริงๆ จะต้องแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็นทะเลที่แดงด้วยเลือด (Red Ocean) แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็อุปมาเหมือนกับเป็น Blue Ocean Strategy

โดยมีแนวทางในการวิเคราะห์อยู่ 4 ข้อได้แก่
1.
การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เราเคยคิดว่าลูกค้าต้องการ แต่จริงๆแล้ว ในปัจจุบันลูกค้าอาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้
2.
การลด (Reduced) การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุสาหกรรม ซึ่งเราอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้นๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริงๆอาจจะไม่มากอย่างที่เราคิด
3.
การเพิ่ม (Raised) ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม
4.
การสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอ ในอุตสาหกรรมมาก่อน


หลักการของ Blue Ocean Strategy
                            นอกจากนี้ Chan Kim ยังมีข้อเตือนใจที่สำคัญในการใช้แนวคิดนี้ คือ ต่อให้เราสร้าง Blue Ocean ขึ้นมาได้ ไม่ช้าคู่แข่งขันใหม่ๆก็อยากจะเข้ามา และถ้าไม่ระวัง สุดท้ายก็จะกลายเป็น Red Ocean เหมือนเดิม ดังนั้น ถ้าต้องการที่จะประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจะต้องคิดหาทางสร้าง Blue Ocean ขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ

อ้างอิง: https://prezi.com/t-uzlmdpgycf/modern-management-approache/

วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

สาระการเรียนการสอน 03/09/17

ADDIE MODEL

 ADDIE Model เป็นหลักการออกแบบที่ถูกนำมาใช้กับหลาย ๆ งาน
ที่ต้องการให้ผลงานออกมาแบบเป็นขั้นเป็นตอน
ADDIE Model เป็นโมเดลการออกแบบที่มีขั้นตอนสำคัญอยู่ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนที่ 1 เรียกว่า Analysis แปลความแล้วก็คือ ขั้นการวิเคราะห์ 
                    
วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายค่ะว่า กลุ่มเป้าหมายคือใคร  
                    วิเคราะห์เนื้อหาว่าจะมีอะไรบ้าง จะเอาข้อมูลลึกบาง
                    ขนาดไหน และก็วิเคราะห์อีกหลาย ๆ อย่างที่มันเกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 2 เรียกว่า Design แปลความได้ว่า ขั้นการออกแบบ 
                    เมื่อเราวิเคราะห์หลาย ๆ อย่างมาแล้ว เราก็มาออกแบบสื่อ
                    กันว่าจะให้สื่อของเรานั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรให้ถูกใจ 
                    ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเรื่อง แสง สี เสียง (เหมือนสร้าง
                    ภาพยนตร์เล็ก ๆ หนึ่งเรื่องเลย)
ขั้นตอนที่ เรียกว่า Development แปลความแล้วได้ว่าเป็น ขั้นการพัฒนา 
                    ก็คือว่า หลังจากออกแบบสื่อเรามาแล้ว เราก็ให้คนอื่น
                    มาดู มาแนะนำ ดูข้อผิดพลาด หรือควรแก้ไขตรงจุดไหนดี
                    เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด
ขั้นตอนที่ เรียกว่า Implementation แปลความได้ว่า ขั้นการนำไปใช้ 
                    เป็นการนำสื่อที่เราทำเสร็จเรียบร้อยแล้วซึ่งผ่านขั้นตอน
                    ของการ ติติง แนะนำมาแล้ว นำสื่อนั้นมาใช้งานกับกลุ่ม
                    เป้าหมาย ได้เลยค่ะ
ขั้นตอนที่ 5 เรียกว่า Evaluation แปลความได้ว่า ขั้นการประเมิน 
                    ซึ่งเป็นบทสรุปของชิ้นงานที่เราทำไปแล้วค่ะว่ามี
                    ประสิทธิภาพขนาดไหน ถูกใจกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ 
                    อาจจะเป็นการสอบถามกลุ่มเป้าหมาย หรือจากการ
                    สังเกตก็ได้ค่ะ




อ้างอิง:  
ทฤษฎีการออกแบบสื่อ ADDIE Model. https://www.l3nr.org/posts/23395. 16 ตุลาคม 2560.

งานชิ้นที่ 1 ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา

ชื่อองค์กร:ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา





วิสัยทัศน์

พันธกิจ
1. บริหารจัดการสถานีวิทยุศึกษา และสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV)
2. ดำเนินการจัด ผลิต เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ทันสมัย มีคุณภาพ ในรูปแบบรายการวิทยุเพื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สื่อการศึกษาเพื่อคนพิการและสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบอื่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
3. พัฒนาและเผยแพร่ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายสากล (Internet)

4. เสริมสร้างโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา กศน. ทั้งในเมืองและชนบทได้เข้าถึงช่องทางและมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลายและมี คุณภาพโดยจัดให้มีการสอนเสริมความรู้ (Tutor Channel) ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) ร่วมกับสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ รวมทั้งจัดให้มีการสอน เสริมความรู้เคลื่อนที่ไปในจังหวัดต่างๆ

5. พัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน   และการส่งเสริมการ ศึกษาตลอดชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย
6. บริหารทรัพยากรและข้อมูลสารสนเทศด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้บริการ แก่ผู้รับบริการและหน่วยงานเครือข่าย
7. พัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้ ให้มีความรู้และทักษะ ในด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
8. ดำเนินการสำรวจ วิจัยและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและเผยแพร่การบริการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

หน้าที่และความรับผิดชอบ
 1. ดำเนินการจัด ผลิต  พัฒนา และเผยแพร่เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ทันสมัยและมีคุณภาพในรูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา และสื่อรูปแบบอื่น ๆ  เพื่อสนองตอบความต้องการทางการศึกษาตลอดชีวิต
2.  บริหารจัดการสถานีวิทยุศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
3.  ให้บริการสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งสื่อ online และ Offline
4.  ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัย การพัฒนา การผลิต การใช้และเผยแพร่เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
5.  ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายการผลิต พัฒนาและเผยแพร่เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต
6. พัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิตและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
   ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ให้บริการสำเนาสื่อการศึกษา รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและรายการวิทยุ เพื่อการศึกษา ที่ศูนย์ฯผลิต เป็น วีซีดี  ออดิโอซีดี และ MP3 พร้อมคู่มือประกอบการรับชมและฟัง   สำหรับนักเรียน นัก ศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป   เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน และศึกษาด้วยตนเอง
       สื่อที่ให้บริการ  มีทั้งสื่อเสริม การเรียนตามหลักสูตรในระบบโรงเรียน  นอกระบบโรงเรียน แต่ละหมวดวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษาไทย สังคมศึกษาสาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาพลศึกษา และภาษาต่าง ประเทศ   รวมทั้งสื่อทบทวนความรู้ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเตรียมสอบ ONET และANET  นอกจากนี้ยังมีสื่อการ ศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในด้านต่างๆ   เช่น  เกี่ยวกับงานอาชีพ   สอนภาษา อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เยอรมัน ฝรั่งเศส เกาหลี  สุขภาพ  ดนตรี ร้องเพลง  เกษตรปลอดสารพิษ   และ อื่นๆ    
       ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียด  เนื้อหา ในแต่ละหมวด และ เลือกรับชมและรับฟังตัวอย่างรายการได้  โดยคลิกที่ ไฟล์ Streaming video/audio  ที่เปิดจากโปรแกรม Window Media Player     สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และสั่งจองสื่อได้ที่  ส่วนจัดการ ทรัพยากร โทร. 0-2354-5730-40 ต่อ 114-115   เบอร์ตรง 02 3545724

หน่วยงานที่ให้บริการด้านสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการที่ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาผลิตและเผยแพร่ คือ

เป็นหน่วยงานหลักที่ให้บริการด้านสื่อการศึกษาแก่คนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการภายในจังหวัดนั้นๆ
2. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (รวมกว่า 100 แห่ง)
สำหรับผู้พิการหรือหน่วยงานที่ไม่สะดวกต่อการขอรับบริการสื่อที่ศูนย์การ ศึกษาพิเศษเขต/ประจำจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักศึกษานอกโรงเรียนที่เป็นคนพิการ ผู้พิการทั่วไป และหน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับคนพิการ สามารถติดต่อขอบริการสื่อได้ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดทุกแห่ง รวมทั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอที่จัดการศึกษานอกโรงเรียน สำหรับคนพิการ
3. ห้องสมุดประชาชน (รวมเกือบ 200 แห่ง)
ภายในห้องสมุดประชาชนจังหวัดทุกแห่ง ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" ทุกแห่ง และห้องสมุดประชาชนอำเภอที่ตั้งในอำเภอที่จัดการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับคน พิการ ได้จัดมุมสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการเพื่อบริการแก่ผู้สนใจ โดยห้องสมุดบางแห่ง ยังให้บริการยืมและบริการสำเนาเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้วย
บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะขอบริการสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการเป็นส่วนบุคคล สามารถติดต่อขอบริการสำเนาสื่อได้ที่ส่วนจัดการทรัพยากร ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา (โทร. 0-2354-5730-40 ต่อ 114, 115, 117) โดยผู้ขอบริการจะต้องเสียค่าบริการสำเนาเล็กน้อย
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือประสบปัญหาในการขอบริการด้านสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ โปรดติดต่อส่วนส่งเสริมการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา โทร. 0 2354 5730-40 ต่อ 525 , 545

อ้างอิง: ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก http://www.ceted.biz (วันที่ค้นข้อมูล : 16 สิงหาคม 2560).

การวิเคราะห์ SWOT และแผนกลยุทธ์ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา
การวิเคราะห์ SWOT
Strength 1. มีการบริหารภายในองค์กรอย่างมีระบบ มีฝ่ายที่รับผิดชอบชัดเจน
 2. มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีด้าน คอมพิวเตอร์ให้กับบุคลากรในภูมิภาค
 3. มีความพร้อมในการให้บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
 4. มีความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้ใช้ในงานบริหาร
 5. มีความพร้อมในการจัดอบรม สัมมนา ทั้งในระดับ ท้องถิ่นและระดับ ประเทศ
Weak      1. การหลากหลายของข้อมูลยังมีไม่เพียงพอ
              2. ไม่มีการพัฒนาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
Opportunities 1. ใช้ IT เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาองค์กร ให้เป็นที่ยอมรับในสังคม
                    2. เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบ เครือข่ายInternet / Intranet สามารถเพิ่มศักยภาพ
                     3. เป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมที่จะรองรับการบริหารงาน การอบรม
Threat           1. มีหน่วยงานอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ที่นา IT มาเป็นจุดขาย เพื่อชิงความได้เปรียบทางการ ศึกษา
                    2. มีหน่วยงานเอกชนเปิดให้ บริการอินเทอร์เน็ต และจัดอบรมคอมพิวเตอร์
                     3. สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงอาจจะมีผลกระทบต่อการสนับสนุนทางด้านงบประมาณ